วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา


อาณาจักรอยุธยา เป็น อาณาจักรของชนชาติไทยในอดีตตั้งแต่ พ.ศ.1893-2310 มีเมืองหลวงที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นอาณาจักรซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองจนอาจถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่ รุ่งเรืองมั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคสุวรรณภูมิ อีกทั้งยังเป็นอาณาจักรที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน ดัตช์ และฝรั่งเศส เคยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล โดยมีประเทศราชแผ่ขยายไปจนถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนานและมณฑลชานสี อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรจำปา และคาบสมุทรมมลายูในปัจจุบัน

จุดเริ่มต้น
ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และกัมโพชนคร
ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอม และ สุโขทัย เริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองทรงดำริจะย้ายเมืองและพิจารณาชัยภูมิเพื่อตั้งอาณาจักรใหม่ และตัดสินพระทัยสร้างราชธานีแห่งใหม่บริเวณตำบลหนองโสน
(บึงพระราม) และสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712 ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.1893(พ.ศ.นี้เทียบจาก จ.ศ. แต่จะตรงกับ ค.ศ.1351)ชื่อว่า กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดี ศรีอยุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานี บุรีรมย์อุดมมหาสถาน ประวัติศาสตร์บางแห่ง[ต้องการอ้างอิง]ระบุว่าเกิดโรคระบาดขึ้น พระเจ้าอู่ทองจึงทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงศรีอยุธยา

การขยายดินแดน
กรุงศรีอยุธยาดำเนินนโยบายขยายอาณาจักรด้วย 2 วิธีคือ ใช้กำลังปราบปราม ซึ่งเห็นได้จากชัยชนะในการยึดครองเมืองนครธม (พระนคร) ได้อย่างเด็ดขาดในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และอีกวิธีหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อันเห็นได้จากการผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร

การล่มสลายของอาณาจักร

ช่วงสมัยรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระเจ้าเอกทัศกับพระเจ้าอุทุมพร เนื่องจากพระองค์ทรงเลือกพระอนุชาขึ้นเป็นกษัตริย์ไม่เป็นไปตามราชประเพณี แต่พระเจ้าเอกทัศก็ทวงบัลลังก์ ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ครั้นในปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาทรง นำทัพมารุกรานอาณาจักรอยุธยา พระเจ้าอุทุมพรทรงถูกเรียกตัวมาบัญชาการตั้งรับพระนคร แต่ภายหลังจากที่กองทัพพม่ายกกลับนั้น พระองค์ก็ได้ลาผนวชดังเดิม
ในปี พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ บุตรของพระเจ้าอลองพญา ก็ได้รุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง โดยแบ่งกองกำลังออกเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายเหนือภายใต้การบังคับของเนเมียวสีหบดี และฝ่ายใต้ภายใต้การนำของมังมหานรธา และมุ่งเข้าตีอาณาจักรอยุธยาพร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาทำการตั้งรับอย่างเข้มแข็ง และสามารถต้านทานการปิดล้อมของกองทัพพม่าไว้ได้นานถึง 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการล่มสลายได้ กองทัพพม่าสามารถเข้าเมืองได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

เป็นความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรพม่ากับอาณาจักรอยุธยา ในการทัพคราวนี้ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310[I] อันเป็นรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศแห่งอาณาจักรอยุธยา และพระเจ้ามังระของอาณาจักรพม่า
แผน ปฏิบัติการของกองทัพพม่าเริ่มจากการเข้าตีหัวเมืองทางเหนือ ทางตะวันตกและทางใต้ของอาณาจักรอยุธยา ก่อนจะเข้าปิดล้อมพระนครในขั้นสุดท้าย ส่วนผู้ปกครองอยุธยาเลือกที่จะใช้ยุทธวิธีตั้งรับอยู่ในกรุงในฤดูน้ำหลาก แต่เนื่องจากกองทัพพม่าได้เปลี่ยนยุทธวิธีของตนใหม่ จึงทำให้ยุทธวิธีของอยุธยาไม่ได้ผลอย่างในอดีต จนกระทั่งนำไปสู่การเสียกรุงศรีอยุธยาในที่สุด ภายหลังการปิดล้อมนาน 14 เดือน ซึ่งเป็นสาเหตุซึ่งนำไปสู่การเสียกรุงด้วยเหตุผลทางด้านยุทธวิธี
จากการเสียกรุงในครั้งนี้ นอกจากจะส่งผลให้อาณาจักรอยุธยา ซึ่งเป็นราชธานีของคนไทยกว่า 417 ปี ล่มสลายลงแล้ว ยังส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองในระดับต่าง ๆ จนแทบนำไปสู่การล่มสลายของรัฐไทยเลยทีเดียว[3] ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงสร้างความเป็นปึกแผ่นและฟื้นฟูความเจริญรุ่งเรืองของชาติขึ้นอีกครั้งในรัชสมัยของพระองค์ อันเป็นพระราชกรณียกิจหลัก

พระราชวงศ์
ราชวงศ์กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วย 5 ราชวงศ์ คือ
ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 องค์
ซึ่ง รวมเป็นกษัตริย์รวม 33 พระองค์ ซึ่งถือว่ามีมาก ซึ่ง อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปีเลยทีเดียว กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา
เสียกรุง
ครั้นถึงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาชัย และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่าย พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา 2 ทุ่ม แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน ทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น